ต่างชาติจ้อง ประกันภัย เหตุโตเยอะ
คลังชี้ต่างชาติสนใจธุรกิจ ประกันภัย ตลอด เหตุโตเยอะ ตรึงเป้าเบี้ย ประกันภัย ต่อจีดีพีทะลุ 6% ปี 57 สูสีมาเลเซีย ก่อนผลักดันต่อยืนแถวหน้า
ปลัดกระทรวงการคลังในฐานะประธาน คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า ธุรกิจ ประกันภัย ไทยเติบโตมาก อยู่ในความสนใจของต่างประเทศตลอด อย่างประกันชีวิตในปีที่ผ่านมา ขยายตัว 20% และตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เติบโตกว่า 10% ซึ่งเป้าหมายของ คปภ.ต้องการให้สัดส่วนเบี้ย ประกันภัย ต่อจีดีพีเพิ่มเป็น 6% ในปี 2557 จาก 5% ในปี 2555 ทำให้ธุรกิจ ประกันภัย ใกล้เคียงมาเลเซีย และในอนาคตจะเติบโตต่อไป เพื่อขยับใกล้สิงคโปร์
“การไปถึงเป้าหมายที่ว่า ต้องรอดูปีนี้ ปีหน้าเราได้เท่าไหร่ จะไปถึง 6% หรือไม่ เบี้ย ประกันภัย ที่เพิ่มขึ้นมา 1% เท่ากับ 1.2 แสนล้านบาทแล้ว การไปสู่เป้าหมาย ทั้งรูปแบบบริการ การกำกับดูแล ต้องปฏิรูปต่อไป อนาคตรูปแบบ ประกันภัย เปลี่ยนไปมากขึ้น เออีซีเป็นโอกาสที่ไทยขยายไปได้ คปภ.ก็คุยกับอาเซียน จะให้มีกฎเดียวกันทั้งภูมิภาค รูปแบบธุรกิจที่ขายได้ทั้ง 10 ประเทศ ธุรกิจ ประกันภัย ต้องอาศัยการอธิบายของตัวแทน นายหน้า ดังนั้นตัวแทน นายหน้า สำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจมาก”
ด้านเลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 เป็นต้นไป บริษัทประกันวินาศภัยต้องรายงานการรับ ประกันภัยรถยนต์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทันที หลังจากรับ ประกันภัย (On line-Real time) เพื่อการกำกับดูแลการรับ ประกันภัยรถยนต์ และเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ให้ได้รับความคุ้มครอง สิทธิประโยชน์ด้าน ประกันภัย อย่างรวดเร็ว และเป็นธรรม ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
การเปิดขาย ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) แบบ On line-Real time คือนวัตกรรมการ ประกันภัยรถยนต์ ที่กำหนดวิธีการให้บริษัท ประกันภัย ขาย ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับแล้ว จะต้องรายงานข้อมูล เช่น เลขที่ ทะเบียนรถยนต์ บริษัทที่รับ ประกันภัย วันที่เริ่ม และวันสิ้นสุดความคุ้มครอง ให้ศูนย์ข้อมูลกลางของสำนักงาน คปภ. ทราบทันที และเมื่อผู้ประสบภัยจาก รถยนต์ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะตรวจสอบการทำ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ ผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติ หรือ (E-claim) จากนั้นจะทำการแจ้งรายละเอียดการรักษาผู้ประสบภัย ให้บริษัท ประกันภัย ทราบ เพื่อยืนยันค่ารักษาพยาบาลผ่านระบบดังกล่าว ทำให้ประชาชนไม่ต้องสำรองค่ารักษาพยาบาลไปก่อน
ซึ่งขณะนี้มีบริษัทประกันวินาศภัยรวม 36 บริษัทที่เข้าร่วม และพร้อมให้บริการผ่านระบบ E-claim จากจำนวน 52 บริษัท ที่มีการขาย ประกันภัย พ.ร.บ. ส่วนที่เหลือเป็นบริษัท ประกันภัย ขนาดเล็ก ที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ นอกจากนั้น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดเก็บ ยังสามารถใช้เป็นฐานในการจัดทำตัวเลขสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม เพื่อประเมินประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของระบบการ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับในระยะต่อไปด้วย
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า นอกจากการทำ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ ซึ่งเป็นการ ประกันภัย ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว สำนักงาน คปภ.อยากฝากเตือนประชาชนและผู้ประกอบการ ให้ความสำคัญกับการซื้อการ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับตัว รถยนต์ และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจที่หลากหลาย ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เช่น การให้ความคุ้มครองภัยโจรกรรม ภัยน้ำท่วม และความคุ้มครองที่เน้นเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดจากรถชนรถ เป็นต้น
สำหรับในปีนี้ คปภ.ตั้งเป้าหมายเบี้ย ประกันภัย ประมาณ 6.6 แสนล้านบาท เติบโตประมาณ 16% เบี้ย ประกันภัย ต่อจีดีพี 5.02% แบ่งเป็นเบี้ยประกันชีวิต 4.49 แสนล้านบาท เติบโตประมาณ 18% และเบี้ยประกันวินาศภัย 2.11 แสนล้านบาท เติบโตประมาณ 15%
ปลัดกระทรวงการคลังในฐานะประธาน คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า ธุรกิจ ประกันภัย ไทยเติบโตมาก อยู่ในความสนใจของต่างประเทศตลอด อย่างประกันชีวิตในปีที่ผ่านมา ขยายตัว 20% และตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เติบโตกว่า 10% ซึ่งเป้าหมายของ คปภ.ต้องการให้สัดส่วนเบี้ย ประกันภัย ต่อจีดีพีเพิ่มเป็น 6% ในปี 2557 จาก 5% ในปี 2555 ทำให้ธุรกิจ ประกันภัย ใกล้เคียงมาเลเซีย และในอนาคตจะเติบโตต่อไป เพื่อขยับใกล้สิงคโปร์
“การไปถึงเป้าหมายที่ว่า ต้องรอดูปีนี้ ปีหน้าเราได้เท่าไหร่ จะไปถึง 6% หรือไม่ เบี้ย ประกันภัย ที่เพิ่มขึ้นมา 1% เท่ากับ 1.2 แสนล้านบาทแล้ว การไปสู่เป้าหมาย ทั้งรูปแบบบริการ การกำกับดูแล ต้องปฏิรูปต่อไป อนาคตรูปแบบ ประกันภัย เปลี่ยนไปมากขึ้น เออีซีเป็นโอกาสที่ไทยขยายไปได้ คปภ.ก็คุยกับอาเซียน จะให้มีกฎเดียวกันทั้งภูมิภาค รูปแบบธุรกิจที่ขายได้ทั้ง 10 ประเทศ ธุรกิจ ประกันภัย ต้องอาศัยการอธิบายของตัวแทน นายหน้า ดังนั้นตัวแทน นายหน้า สำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจมาก”
ด้านเลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 เป็นต้นไป บริษัทประกันวินาศภัยต้องรายงานการรับ ประกันภัยรถยนต์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทันที หลังจากรับ ประกันภัย (On line-Real time) เพื่อการกำกับดูแลการรับ ประกันภัยรถยนต์ และเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ให้ได้รับความคุ้มครอง สิทธิประโยชน์ด้าน ประกันภัย อย่างรวดเร็ว และเป็นธรรม ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
การเปิดขาย ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) แบบ On line-Real time คือนวัตกรรมการ ประกันภัยรถยนต์ ที่กำหนดวิธีการให้บริษัท ประกันภัย ขาย ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับแล้ว จะต้องรายงานข้อมูล เช่น เลขที่ ทะเบียนรถยนต์ บริษัทที่รับ ประกันภัย วันที่เริ่ม และวันสิ้นสุดความคุ้มครอง ให้ศูนย์ข้อมูลกลางของสำนักงาน คปภ. ทราบทันที และเมื่อผู้ประสบภัยจาก รถยนต์ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะตรวจสอบการทำ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ ผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติ หรือ (E-claim) จากนั้นจะทำการแจ้งรายละเอียดการรักษาผู้ประสบภัย ให้บริษัท ประกันภัย ทราบ เพื่อยืนยันค่ารักษาพยาบาลผ่านระบบดังกล่าว ทำให้ประชาชนไม่ต้องสำรองค่ารักษาพยาบาลไปก่อน
ซึ่งขณะนี้มีบริษัทประกันวินาศภัยรวม 36 บริษัทที่เข้าร่วม และพร้อมให้บริการผ่านระบบ E-claim จากจำนวน 52 บริษัท ที่มีการขาย ประกันภัย พ.ร.บ. ส่วนที่เหลือเป็นบริษัท ประกันภัย ขนาดเล็ก ที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ นอกจากนั้น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดเก็บ ยังสามารถใช้เป็นฐานในการจัดทำตัวเลขสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม เพื่อประเมินประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของระบบการ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับในระยะต่อไปด้วย
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า นอกจากการทำ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ ซึ่งเป็นการ ประกันภัย ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว สำนักงาน คปภ.อยากฝากเตือนประชาชนและผู้ประกอบการ ให้ความสำคัญกับการซื้อการ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับตัว รถยนต์ และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจที่หลากหลาย ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เช่น การให้ความคุ้มครองภัยโจรกรรม ภัยน้ำท่วม และความคุ้มครองที่เน้นเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดจากรถชนรถ เป็นต้น
สำหรับในปีนี้ คปภ.ตั้งเป้าหมายเบี้ย ประกันภัย ประมาณ 6.6 แสนล้านบาท เติบโตประมาณ 16% เบี้ย ประกันภัย ต่อจีดีพี 5.02% แบ่งเป็นเบี้ยประกันชีวิต 4.49 แสนล้านบาท เติบโตประมาณ 18% และเบี้ยประกันวินาศภัย 2.11 แสนล้านบาท เติบโตประมาณ 15%
ที่มา : สยามธุรกิจ
ประชาสัมพันธ์โดย Q4Car ตลาดรถ รับฝากขาย รถมือสอง ฟรี!!!!
ที่ปรึกษา ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ แหล่งรวมโปรโมชั่น ประกันรถยนต์ ดีๆ